เมนู

6. นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม และนเหตุธรรม
ด้วยอำนาจอนันตรปัจจัย

นเหตุมูลกนัย เป็นอย่างเดียวกันทั้ง 3 วาระ.
7. เหตุธรรม และนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม
ด้วยอำนาจอนันตรปัจจัย

คือ เหตุธรรมทั้งหลาย ที่เกิดก่อน ๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็น
ปัจจัยแก่เหตุธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
8. เหตุธรรม และนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ เหตุธรรมทั้งหลาย ที่เกิดก่อน ๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเหตุธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตร-
ปัจจัย.
9. เหตุธรรม และนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม
และนเหตุธรรม ด้วยอำนาจอนันตรปัจจัย

คือ เหตุธรรมทั้งหลาย ที่เกิดก่อน ๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็น
ปัจจัยแก่เหตุธรรมทั้งหลาย ที่เป็นหลัง ๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.

5. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


[21] 1. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
สมนันตรปัจจัย เหมือนกับอนันตรปัจจัย.

เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย ทั้ง 2 ปัจจัยนี้
เหมือนปัจจยวาระ.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย เหมือนกับนิสสยปัจจัย
ในปัจจัยวาระ.

9.อุปนิสสยปัจจัย


[22] 1. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
เหตุธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.
2. เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
เหตุธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.